วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

ต้นมะละกอ
 
 
 

มะละกอเป็นพืชที่มีประโยชน์ที่คนไทยนิยมรับประทานทั้งสุกและดิบ ทุกส่วนของมะละกอมีประโยชน์จึงควรปลูกมะละกอไว้รับประทานเอง

       มะละกอเป็นพืชมหัศจรรย์
ทุกส่วนของมะละกอสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้นมะละกอมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผลนำไปประกอบอาหารได้หลายชนิดซึ่งอุดมไปด้วย วิตามินเอและสารเบต้าเคโรทีน วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ผม ฟัน เหงือก สารเบต้าแคโรทีนช่วยต้านโรคมะเร็ง

   
เส้นใยในเนื้อของมะละกอช่วยให้ระบบขับถ่ายทางานได้ดี ไม่ทำให้ท้องผูก ไม่เกิดสิว ทำให้ไม่อ้วน ผิวพรรณสดใสมีเลือดฝาด ทั้งช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย ผลสุกของมะละกอมีรสหวานอร่อย มีกลิ่นหอม ชวนรับประทาน 

      
ยางที่ได้จากผลมะละกอดิบยังใช้หมักเนื้อ ช่วยให้เนื้อเปื่อยยุ่ยทุกส่วนของมะละกอมีสรรพคุณทางยาสามารถนำมาใช้ในการป้องกันและบาบัดรักษา โรคได้ ดังเช่นเนื้อของผลสุก ช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหาย บารุงกระเพาะ บารุงม้าม..แก้ปวดท้อง และช่วยขับปัสสาวะ ได้ดี

 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Carica papyya L.
ชื่อวงศ์: CARICACEAE ชื่อสามัญ: Papaya.
ชื่อท้องถิ่น: มะก๊วยเต็ด ก๊วยเท็ด
ลักษณะทั่วไปของมะละกอ สามารถเจริญเติบโ๋ตได้ดีในทุกสภาพภูมิอากาศ ดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขัง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.0-6.8 มะละกอใช้ผลบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก

การเตรียมดินเพาะกล้ามะละกอ

โดยการใช้ดิน ที่มีส่วนผสมดังนี้ ดินร่วน 3 บุ้งกี๋ ปุ๋ยคอก, ขี้เถ้าแกลบ, ทรายหยาบ อัตราส่วน 1:1:1 ผสมคลุกเคล้าให้เข้ัากัน แล้วนำ มากรอกลงในถุงพลาสติกขนาด 4×6 หรือ 4×4 นิ้ว ให้เต็ม รดน้ำดินในถุงให้ชุ่ม นำเมล็ดพันธุ์มาหยอดลงในถุง ถุงละ 1-2 เมล็ด รดน้ำให้ชุ่มดูแลรักษารดน้ำทุกวัน หลังเมล็ดเริ่มงอกแล้วดูแลรักษาต้นกล้าประมาณ 30 วัน ก็สามารถย้ายปลูกในหลุมปลูกได้

การเตรียมแปลงปลูกมะละกอ

มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ทำหลุมปลูกระยะห่างระหว่างแถว 2-2.5 เมตร ระหว่างต้น 2 เมตร ตีหลุมลึก 0.5 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนแกงต่อหลุม ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ทับบนปุ๋ยเคมี นำต้นกล้ามะละกอ ลงปลูกในหลุมกลบโคนเล็กน้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังปลูกเสร็จให้ทำหลักเพื่อยึดลำต้นไม่ให้โยกขณะลมพัด

การดูแลรักษามะละกอ

  1. การใ้ห้ปุ๋ย
    - ให้ปุ๋ย 15-15-15 หลุมละ 1 ช้อนแกง ทุก 30 วัน
    - ให้ปุ๋ย 14-14-21 หลังติดดอกออกผลแล้ว อัตรา 1ช้อนแกง/ต้น/หลุม หรือจะใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์น้อยลงก็ได้
  2. การให้น้ำ เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย แต่อย่าให้ขาดน้ำ เพราะจะทำให้ต้นแคระแกรน ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำอย่าให้มากเกินไป ถ้าน้ำท่วมขังนาน 1-2 วัน ต้นมะละกอจะเหลืองและตายในที่สุด
  3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืชในช่วงแรก อย่าให้วัชพืชรบกวน
  4. การทำไม้หลัก เพื่อค้ำยันพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม โดยเฉพาะช่วงติดผล

การเก็บเกี่ยว


มะละกอ ถ้าเก็บผลดิบสามารถเก็บได้หลังปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุกหลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน ถึงสามาถเก็บเกี่ยวได้ ให้เลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีแต้มสีส้มปนเขียวนิดๆ ผลยังไม่นิ่ม